วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ครั้งที่  2

วันที่  13  พฤศจิกายน  2555


- อาจารย์แจกกระดาษ  แล้วให้นักศึกษาวาดรูปสัญลักษณ์ตัวเอง พร้อมเขียนชื่อ
- จากรูปที่ให้วาด ให้นักศึกษาแชร์ความคิดเห็นพร้อมอธิบาย ว่าสิ่งที่ให้ทำเป็น
   เครื่องมือการสื่อสารทางภาษา และสามารถบูรณาการเนื้อหาไปได้หลายวิชา
- ให้นักศึกษานำภาพที่วาดมาติดบนกระดาน โดยมีเวลา 08.30 น. เป็นเส้นแบ่งเวลา
- สอนการนับเลขสำหรับเด็กปฐมวัยที่ถูกต้อง
- เปิดเพลงการนับจำนวนให้นักศึกษาฟัง แล้วนำมาวิเคราะห์

  *  นับ 1  เป็นกบกระโดด        นับ 2  ว่ายน้ำเป็นปลา
      นับ 3  ควบให้เหมือนม้า     นับ 4  บินเหมือนผีเสื้อ

  *  แมลงปอบินมา 1 ตัว    บินแล้วก็หมุนๆไปรอบตัว
      บินไปทางซ้าย  บินทางขวา  บินไปข้างหลัง  แล้วก็บินไปข้างหน้า

- เปิดภาพให้นักศึกษาดู แล้ววิเคราะห์
-แบ่งกลุ่มละ 5 คน แล้วให้เขียนหน่วยอะไรก็ได้ แตกเนื้อหาที่เกี่ยวกับคณตศาสตร์
  และเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม  พร้อมนำเสนออาทิตย์หน้า







ครั้งที่ 1

วันที่  6  พฤศจิกายน 2555


- อาจารย์นิเทศน์เกี่ยวกับวิชาเรียนและอธิบายเกี่ยวกับ  Blog
- สร้างข้อตกลง อาจารย์จะเลิกเรียนก่อนเวลา  40  นาที เพื่อให้นักศึกษา
  ทำ  Blog ในแต่ละครั้งเรียน
-ให้นักศึกษาเขียนความเข้าใจว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร 
  มา  1  ประโยค
- อธิบายความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์  เช่น การนับ

     -การเคลื่อนไหวและจังหวะ
     -กิจกรรมเสริมประสบการณื
     -กิจกรรมศิลปะ
     -กิจกรรมกลางแจ้ง
     -กิจกรรมเสรี
     -กิจกรรมเกมการศึกษา

ศึกษาเพิ่มเติม

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542: 14 – 18) กล่าวถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น