วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย


ชื่องานวิจัย ... การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรยมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย ... นางนิธิกานต์   ขวัญบุญ

ความเป็นมาและความสำคัญ

          การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยนั้นมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาเด็กโดยส่วนรวมทุกด้านเน้นพัฒนาการเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคมและสติปัญญาและการจัดการศึกษาโดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรมการจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีสื่อเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจของเด็กในสิ่งที่เป็นรูปธรรมทางคณิตศาสตร์

วัตถุประสงค์  ...  1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียม
                               ความพร้อมคณิตศาสตร์ เรื่องการแทนค่าจำนวน 1 - 10
                           2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาเพื่อเตรียม
                               ความพี้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแทนค่าจำนวน 1 - 10

ขอบเขตวิจัย  ...   นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548
                            จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 25 คน

สรุปผลวิจัย  ...  

                ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานพบว่า นักเรียนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนาเกมการศึกษา  โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสม วิธีการเล่นให้มีหลากหลายวิธี เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมที่นำมาพัฒนาเกมการศึกษาและเกมการศึกษายังสอดคล้องกับหน่วยการเรียนการสอนหลักสูตร โดยเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยเรื่องที่นำมาพัฒนาเกมการศึกษามีเนื้อหาจากความต้องการและความสนใจของนักเรียนเป็นสำคัญ  ควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญและความแตกต่างระหว่างบุคคล

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 16

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

-อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาเรื่องเสื้อสูตว่าจะทำหรือไม่ทำ

-พูดคุยเรื่องงานกีฬาสีเอก  บายเนียร์  ปัจฉิม และนัดการสอบปลายภาคนอกเวลา
โดยมีหมายกำหนดการดังนี้
 1. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ สอบปลายภาคเรียน
 2. วันที่ 2 มีนาคม กีฬาสีเอก เริ่มตอน 9โมงเช้า
 3. วันที่ 3 มีนาคม ตอนเช้าปัจฉิม ตอนเย็นกิจกรรมบายเนียร์
 4. วันที่ 5 มีนาคม ถึงวันที่ 8 มีนาคม ไปศึกษาดูงานที่ลาว

-อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละแผ่นและให้เขียนสิ่งที่รู้ในวิชานี้ โดยถามว่า
 1. ความรู้ที่ได้รับ
 2. ทักษะที่ได้
 3. วิธีการสอน




ครั้งที่ 15


วันที่  12  กุมภาพันธ์  2556

หน่วย อวัยวะ
  • ดูการสอนเรื่องอวัยวะภายนอกร่างกาย
  • เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
วันที่1 
รู้จักอวัยวะภายนอก
  1. การนับไม่ควรนับย้อนไปย้อนมา  ควรไล่ลงมาเป็นลำดับเพื่อเด็กจะไม่สับสน
  2. เมื่ออวัยวะใดที่นับไปแล้ว ควรจะทำเครื่องหมายเอาไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์  และเป็นการรอบครอบของครูผู้สอน
  3. เด็กไม่สามารถอ่านออกได้ ดังนั้นควรมีภาพมาติด และเขียนลงไป เพื่อให้เด็กเห็นว่ามันเขียนอย่างไร และเด็กสามารถรู้ว่าอัวยวะนั้นเรียกว่าอะไร โดยการดูจากรูปภาพ
วันที่2
ลักษณะ
  1. เมื่อเป็นลักษณะควรใช้ตารางสัมพันธ์  เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ  และมีการสรุปอีกที เพื่อเป็นการทวนความรู้ให้กับเด็ก
วันที่ 3
หน้าที่
  1. เนื่องจากว่ามันเป็นข้อความรู้  ดังนั้นควรเล่านิทานเพื่อเข้าสู่บทเรียน 
  2. ในเมื่อมีภาพเราก็ใช้ภาพนั้นมาติด  แล้วลองถามว่าอวัยวะนี้ทำอะไรได้บ้าง
  3. เราทำเป็นMapping  เปลี่ยนจากเขียนเป็นวาดภาพลงไป  เด็กจะได้เข้าใจ
  4. จากนั้นก็ทำการสรุปโดยใช้Mapping เริ่มจากหน้าที่ และค่อยขยาย เป็นชื่ออวัยวะต่างๆที่เรามี  จากนั้นจึงค่อยขยายหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆตามที่เขียนมา
วันที่ 4 
ประโยชน์
  1. เป็นการเล่านิทานโดยให้เด็กได้มีส่วนร่วม โดยการทำตามคำบรรยาย
วันที่ 5 
วิธีการดูแลรักษา
  1. การสอนการดูแลรักษาอวัยวะอย่างแรก ควรบอกให้เด็กไปหาผู้ปกครองก่อน